Prime Ambulance

 บริการรถพยาบาล เคลื่อนย้ายผู้ป่วยตามนัด
รับส่งระหว่างโรงพยาบาลและรับส่งกลับบ้านทั่วประเทศไทย 

เกี่ยวกับเรา

          Prime Ambulance ให้บริการรถพยาบาล โดยมุ่งเน้นการเคลื่อนย้ายผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยติดเตียง, ตามนัดแพทย์, รับส่งระหว่างโรงพยาบาลและรับส่งกลับบ้านทั่วประเทศไทย ด้วยรถพยาบาลที่มีเครื่องมือทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานและทันสมัย มีบุคคลากรที่มีประสบการณ์และความชำนาญ บริหารงานโดยแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 10 ปี

          เราให้ความสำคัญกับความปลอดภัย ความสะอาดและความชัดเจนในการให้บริการ สามารถศึกษาวิธีการจอง และเงื่อนไขการให้บริการผ่านทางเวปไซต์

        เปิดให้บริการทุกวัน เวลา 8.00-18.00น. นอกเวลาดังกล่าวรับเฉพาะเคสนัดล่วงหน้า

เบอร์โทร 065-009-8789

Line Official : @primeambulance

ค่าบริการ

– กรณีไม่เร่งด่วนแนะนำให้ติดต่อสอบถามค่าบริการทาง Line Official : @primeambulance

– ค่าบริการ คำนวณตาม ระยะทางที่ให้บริการ, ระยะทางจากศูนย์รถพยาบาล (เขตธนบุรี), น้ำหนักตัวผู้ป่วย, ชั้นที่พักอาศัย และความต้องการใช้ออกซิเจน

– หลังจาก Add Line เรียบร้อยแล้วให้แจ้ง

  • ตำแหน่งต้นทาง
  • ตำแหน่งปลายทาง
  • น้ำหนักตัวผู้ป่วย
  • ชั้นที่พักอาศัยของผู้ป่วย
  • ต้องการใช้ออกซิเจนหรือไม่

ประสบการณ์การทำงาน  นพ.สุรเดช เชื้อพานิช (ผู้บริหาร)

– ประธานคลินิกฉุกเฉิน และกรรมการฝ่ายพัฒนาคุณภาพ รพ.ศิริราช ปิยมหาราชการุณย์
– แพทย์ชำนาญการ รพ.ตากสิน
– ประธานองค์กรแพทย์และหัวหน้าห้องฉุกเฉิน รพ.ศรีสวรรค์ ราชพฤกษ์


“การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยมีความสำคัญต่อการรักษา ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่ง ผมอยากให้ผู้ป่วยได้ใช้รถพยาบาลที่มีมาตรฐาน เครื่องมือทันสมัย พร้อมบุคลากรที่มีประสบการณ์ดูแล ในราคาที่เหมาะสม”

ข่าวสารและโปรโมชั่น

 

* ค่าบริการเริ่มต้นที่ 800 บาทต่อเที่ยว

โปรโมชั่นสำหรับการจองรถพยาบาลไปและกลับ

– ส่วนลด 50% สำหรับค่ารถพยาบาลขากลับ

– สำหรับค่าบริการยอดรวมตั้งแต่ 2000 บาทขึ้นไป 

– ขาไปและขากลับ ต้องใช้บริการวันเดียวกันและเส้นทางเดียวกัน

– เฉพาะสมาชิก สมัครสมาชิก

– สำหรับการจองตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 ม.ค. 2568

– เฉพาะพื้นที่กรุงเทพและปริมณฑล

* ค่าบริการคำนวณตาม ระยะทางที่ให้บริการ ร่วมกับระยะทางจากศูนย์รถพยาบาล

รถที่ให้บริการ

         เราใช้รถ Toyota all new commuter 2.8 ดัดแปลงทำรถพยาบาลความปลอดภัยสูง ตามมาตรฐาน EN 1789 (10G) โดยข้อกำหนดดังกล่าวจะเน้นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ออกแบบมาใช้งานในขณะที่รถขับเคลื่อนมีแรงสั่นสะเทือน รวมทั้งอุปกรณ์การจับยึดจะต้องสามารถทนต่อแรงที่เกิดจากอัตราเร่งหรือหน่วงได้ถึง 10 เท่าของแรงโน้มถ่วงของโลก (10G)

          เตียงนอนสำหรับผู้ป่วยใช้ยี่ห้อ Spencer รุ่น Carrera Tec จากประเทศเยอรมนี โครงสร้างทำจากโลหะปลอดสนิม มีความแข็งแรง น้ำหนักเตียง 38 kg สามารถรับน้ำหนักได้ 170 kg

          ภายในห้องโดยสารมีระบบระบายอากาศตามคำแนะนำของ CDC (The centers of disease control and prevention) ซึ่งในห้องพยาบาลจะมีระบบเติมอากาศจากทางด้านบนหลังคารถและระบายอากาศออกภายนอกตัวรถทางด้านล่างด้วยอัตราไม่น้อยกว่า 20 air change rate(cycles/hr) เพื่อช่วยป้องกันการติดเชื้อ  ร่วมกับติดตั้งระบบฟอกอากาศ Hepa filter ยี่ห้อ AAF จากประเทศสหรัฐอเมริกา

          อุปกรณ์ไฟฟ้าทางการแพทย์อื่นๆที่สำคัญได้แก่ เครื่องดูดของเหลว, เครื่องวัดสัญญาณชีพพร้อมเครื่องกระตุกหัวใจเคลื่อนที่แบบพกพา เครื่องให้สารน้ำทางเส้นเลือด และเครื่องช่วยหายใจแบบพกพา

          พนักงานของเราประกอบด้วย พนักงานฉุกเฉินการแพทย์(EMT), ผู้ช่วยพยาบาล(PN), อาสาสมัครฉุกเฉินการแพทย์(EMR), นักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์(paramedic) และพยาบาลวิชาชีพ(RN) โดยพนักงานของเราทุกคนมีประสบการณ์การทำงานในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาล และควบคุมคุณภาพโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์ฉุกเฉิน